10.21.2554

สิ่งที่ควรพัฒนาทางด้านการตลาดสำหรับธุรกิจเบเกอรี่

การทำร้านหรือธุรกิจเบเกอรี่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลิตแล้วางขายเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาดอีกด้วย ได้แก่

1. สร้างรูปแบบใหม่ๆ
อย่าจำเจกับขนมและบรรจุภัณฑ์เดิมๆ เพื่อให้ลูกค้าชื่นชอบกับความแปลกใหม่ และความแตกต่าง แม้ว่าสูตรทั่วๆไปของเบเกอรี่จะไม่ต่างกัน

2. เน้นความสวยงามสำหรับทุกเทศกาล
นอกเหนือจากความอร่อยแล้วความสวยงามของตัวขนมและบรรจุภัณฑ์ยัง เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การเลือกซื้อขนมที่มีบรรจุภัณฑ์สวยงามสำหรับมอบให้แก่กันในเทศกาลต่างๆ ชวยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจเบเกอรี่โฮมเมดของคุณได้

3. ระมัดระวังเรื่องคุณภาพของเบเกอรี่
อายุของเบเกอรี่แต่ละชนิดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ความสดใหม่ของขนมเท่านั้นที่จะทำให้ลูกค้าติดใจและชื่นชอบในสินค้าของเรา การเน้นคุณภาพและมีความซื่อสัตย์ใน
การทำธุรกิจโดยไม่นำของเก่ามาขายซ้ำจะทำให้ลูกค้าประทับใจเบเกอรี่ของเรา และจะทำให้เรามีลูกค้าประจำ อย่าหวังเพียงแค่การขายให้แกก่ลูกค้าขาจรเท่านั้น

4. ควบคุมขั้นตอนการผลิต
เพื่อให้เบอเกอรี่ที่ได้มีมาตรฐานเหมือนกัน หากไม่ผ่านการตลาดสอบคุณภาพแล้ว ไม่ควรเสียดาย ควรทิ้งหรือกำจัดให้หมด เพราะถ้าเรานำไปขายก็อาจจะทำให้เสียลูกค้าได้

5. ตั้งราคาขายที่เหมาะสม
ตั้งให้เหมาะกับต้นทุนการผลิต อย่าหวังกำไรสูงเกินไป ดูให้เหมาะสมพอดีกับจำนวนสินค้า คุณภาพสินค้า

6. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
การที่จะให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักของลูกค้าทั่วไปผ่านทางระบบปากต่อปากอาจจะช้าเกินไป เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ โฆษณา ซึ่งมีหลายรูปแบบให้แต่ละคนเลือก เช่น ลงโฆษณากับนิตยสาร บิลด์บอร์ด โบร์ชัวร์ หรืออาจลงผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ ซึ่งมีทั้งแบบจ่ายรายเดือน รายปี หรือฟรี ซึ่งแล้วแต่ว่าใครจะเลือกแบบไหน ถ้าใครมีความสามารถในการทำเว็บไซต์ก็อาจทำ SEO เองเลยก็ได้ หรือจะจ้างผู้ที่มีความสามารถทำให้เพื่อให้เว็บเบเกอรี่ของเราขึ้นอันดับต้นๆ ของการค้นหาในคีย์เวิร์ดที่เราต้องการ

10.17.2554

เงินลงทุนโดยประมาณสำหรับธุรกิจเบเกอรี่

ต้นทุนที่ใช้ในสำหรับผู้ที่ต้องการเปิดร้านเบเกอรี่ จำเป็นต้องใช้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยดี ซึ่งต้นทุนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. ต้นทุนคงที่ 2. ต้นทุนผันแปร

1. ต้นทุนคงที่
เป็นต้นทุนสำหรับการซื้อเครื่องมือ ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง เตาอบ เครื่องผสมแป้งและส่วนผสมอื่นๆ ตลอดจนถึงเครื่องใช้ไม้สอยทั้งหลาย บางชนิดอย่างเช่นเตาอบหรือเครื่องผสมอาหารอาจมีราคาแพง โดยเฉพาะหากเป็นลนค้าเกรดเอหรือแบรนด์ดัง คุณภาพสูงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ก็จะยิ่งมีราคาสูงมากขึ้น คุณภาพก็ดีตามไปด้วย อายุการใช้งานก็จะยาวนานกว่าสินค้าระดับล่างที่เน้นให้ราคาถูกไว้ก่อน แต่อายุการใช้งานก็น้อยตามไปด้วย

2. ต้นทุนผันแปร
เป็นต้นทุนที่ใช้สำหรับการซื้อวัตถุดิบต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล เนย เป็นต้น สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ต้องซื้อใหม่อย่างสม่ำเสมอ ต้นทุนสินค้าพวกนี้จะผันแปรไปตามราคาตลาดแต่ถ้าเราซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ก็สามารถต่อรองราคาได้ แต่อย่าลืมว่าถ้าเน้นให้ราคาถูกไว้ก่อน คุณภาพสินค้าก็อาจจะต่ำไปด้วยก็ได้

อย่างไรก็ตาม เรามีราคาประมาณการขั้นต้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจเบเกอรี่พิจารณา
(ราคาเมื่อปี 2551)

ราคาโดยประมาณกลุ่มวัตถุดิบสำหรับการเปิดร้านเบเกอรี่
แป้งขนมปัง 1 กิโลกรัม / 35 บาท
แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 กิโลกรัม / 32 บาท
แป้งท้าวยายม่อม 1 กิโลกรัม /30 บาท
แป้งเค้ก 1 กิโลกรัม /45 บาท
แป้งข้าวโพด 1 กิโลกรัม / 38 บาท
แป้งคัสตาร์ด 300 กรัม / 36 บาท
น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม / 23 บาท
น้ำตาลทรายแดง 500 กรัม / 23 บาท
น้ำตาลกรวดแดง 350 กรัม / 22 บาท
น้ำตาลกรวดขาว 500 กรัม / 30 บาท
น้ำตาลไอซิ่ง 400 กรัม / 18 บาท
เกลือ 500 กรัม / 5 บาท
น้ำผึ้ง 565 มิลลิลิตร / 175 บาท
นมข้นหวาน 388 กรัม / 20 บาท
นมข้นจืด 405 กรัม / 22 บาท
นมสด 2 ลิตร / 80 บาท
นมผง 1200 กรัม / 245 บาท
นมเปรี้ยว 800 มิลลิลิตร / 40 บาท
เนยสด (ทั้งชนิดเค็มและจืด) 227 กรัม / 75 บาท
มาร์การีน 2 กิโลกรัม / 224 กรัม
วิปปิ้งครีม 946 มิลลิลิตร / 130 บาท
โยเกิร์ต 150 กรัม / 50 บาท
ครีมชีส 250 กรัม / 105 บาท
ไข์ใก่ 20 ฟอง / 75 บาท
ไข่เป็ด 6 ฟอง /35 บาท
ไข่เค็ม (เฉพาะไข่แดง) 12 ฟอง / 25 บาท
หมูหย็อง 390 กรัม / 185 บาท
ไส้กรอก (แบบสั้น) 15 บาท/ 1 ขีด
(แบบยาว) 20 บาท /1 ขีด
ช็อกโกแลตแท่ง 113 กรัม / 88 บาท
ช็อกโกแลตชิป 340 กรัม/ 190 บาท
ช็อกโกแลตท็อปปิ้ง 340 กรัม / 77 บาท
สตรอว์เบอร์รี่ท็อปปิ้ง 580 กรัม / 65 บาท
โกโก้ผง 500 กรัม / 103 บาท
ครีมออฟทาร์ทาร์ 50 กรัม / 37 บาท
อัลมอนต์ 150 กรัม / 90 บาท
ลูกเกด 1 กิโลกรัม / 90 บาท
มะม่วงหิมพานต์ 500 กรัม 190 บาท
ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม / 40 บาท
ถั่วแดง 1 กิโลกรัม / 50 บาท
กะทิสำเร็จรูป 1 กิโลกรัม / 40 บาท
กล้วยตาก 270 กรัม / 40 บาท
เจลาติน (แบบแผนและผง) 22 กรัม / 42 บาท
ผงฟู 400 กรัม / 44 บาท
ยีสต์ (แท่ง) 34 กรัม / 32 บาท
(ผง) 500 กรัม / 163 บาท
น้ำพริกเผา 465 กรัม / 90 บาท
สารแต่งกลิ่นและสี 15 บาท / 30 มิลลิลิตร


ราคาโดยประมาณกลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเปิดร้านเบอเกอรี่
เครื่องผสมแป้ง 17,000 บาท / เครื่อง
เตาอบ (ขนาดกลาง 2 ชั้น) 20,000 บาท / เครื่อง
(ขนาดเล็ก 1 ชั้น) 2,500 บาท / เครื่อง
(ขนาดเล็ก 2 ชั้น) 3500 บาท/เครื่อง
ถ้วยตวงของแห้ง (อะลูมิเนียม) 160 บาท/ชุด (พลาสติก) 15 บาท 1 ชุด
ถ้วยตวงน้ำ (แก้ว) ความจุ 250 มิลลิลิตร / 380 บาท
(พลาสติก) ความจุ 300 มิลลิลิตร /60 บาท
ช้อนตวง 25 บาท / ชุด
ตราชั่ง 450 บาท / เครื่อง
เทอร์โมมิเตอร์ 120 บาท / แท่ง
พายไม้ 60 บาท / อัน
พายพลาสติก 25 บาท / อัน
เครื่องตีไข่ 70 บาท/อัน
ที่ร่อนแป้ง กว้าง 21 ซม. 215 บาท/อัน
ไม้คลึงแป้ง ยาว 9 นิ้ว 90 บาท/อัน
ผ้าขาวบาง ขนาด 50*58 ซม. 19 บาท/ผืน
อ่างผสมแป้ง ขนาด 36 ซม. 95 บาท/ใบ
ตะแกรงพักอาหารทอด 90 บาท/อัน
ที่ตัดเนย 80 บาท/อัน
ลูกกลิ้งตัดแป้ง 55 บาท/อัน
มีดฟันเลื่อย 100 บาท/เล่ม
แปรงทาเนย 85 บาท/ด้าม
ที่ตักเค้ก 90 บาท/อัน
ที่ปาดหน้าเค้ก 60 บาท/อัน
กระดาษฟรอยด์ ขนาด 12*25 ฟุต 49บาท/ม้วน
ฟิล์มใส ขนาด 30*30 ซม. 49 บาท/อัน
พิมพ์คุกกี้ แบบกด 60 บาท/ 2 พิมพ์
พิมพ์เค้ก ความจุ 1 ปอนด์ 90 บาท /พิมพ์
หลอดแต่งหน้าเค้ก 100 บาท/หลอด

ประมาณการต้นทุนคงที่ (ส่วนของอุปกรณ์เครื่องมือโดยประมาณ)
เครื่องผสมแป้ง 17,000 บาท
เตาอบ 20,000 บาท
อุปกรณ์อื่นๆ ประมาณ 2,000 บาท
รวม 39,000 บาท
คิดโดยประมาณ = 40,000 บาท

สำหรับต้นทุนวัตถุดิบนั้น สามารถคิดแยกส่วนตามแต่ชนิดเบเกอรี่ที่จะเลือกผลิต ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลว่าจะผลิตขนมอะไรออกมาขาย ซึ่งจะต้องศึกษาตลาดผู้บริโภคให้ดีเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวมาในบทความอื่นๆ ที่แล้วมา









10.13.2554

การเตรียมความพร้อมก่อนลงทุนในธุรกิจเบเกอรี่

ก่อนที่จะลงทุนในธุรกิจใดๆ ก็จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมกั่น ซึ่งธุรกิจเบเกอรี่โฮมเมดก็ไม่ต่างกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ลงทุนต้องพิจารณาถึงความพร้อมก่อนการลงทุน ซึ่งได้แก่
1. เงินทุน
สำคัญเป็นอันดับหนึ่งก็เพราะเงินลงทุนคือปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ก่อนการผลิตเบเกอรี่เป็นไปด้วยดี จำนวนเงินลงทุนย่อมแตกต่างกันไปตามรูปแบบของธุรกิจว่าต้องการให้ออกมาในลักษณะใด ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์และพิจารณาตามกำลังของตัวอง เพราะด้วยทั่วไปแล้วการลงทุนในขั้นแรกจะเน้นหนักไปที่วัสดุปกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ และจะให้ผลตอบแทนกลับมาภายในเวลาไม่นาน ดังนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณภาพดี มีการรับประกัน แม้จะราคาสูงแต่มั่นใจได้ถึงคุณภาพ
ส่วนต้นทุนอีกอย่างทีเรียกกันว่าต้นทุนแปรผันแปร เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าขนส่ง หรือค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงได้ ถือว่าเหล่านี้เป็นเงินทุนที่ผู้ลงทุนเองต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถเงินลงทุนสามารถหมุนเวียนได้อย่างไม่ติดขัด

2. ความรู้ความเชี่ยวชาญ
จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจเบเกอรี่โฮมเมดมาก เพราะควรเรียนรู้ถึงใอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และวัตถุดิบทุกอย่างสำหรับการทำเบเกอรี่ ควรเรียนรู้ว่าแป้งมีกี่ชนิด น้ำตาลหรือวัตถุดิบตัวอึ่นๆ มีคุณสมบัติอย่างไรใช้เป็นส่วนผสมในเบเกอรี่แต่ละชนิดเพื่ออะไร นอกจากนี้ยังต้องฝึกฝนและเชี่ยวชาญในการทำ เบเกอรี่มากพอที่จะควบคุมคุณภาพและรสชาติได้ เพื่อให้ขนมที่ผลิตมีคุณภาพและรสชาติที่เหมือนกัน

ปัจจุบันนี้ มีโรงเรียนสอนทำเบเกอรีมากมาย เราสามารถเลือกเรียนได้ ได้ตามต้องการ ทั้งยังสามารถเลือกเฉพาะวิชาที่สนใจได้ ซึ่งส่วนใหญ่แม้เขาเรียนเพียงคอร์สเดียวก็สามารถนำมาปรับใช้และทำขายได้ทันที รวมทั้งการเรียนรู้สูตรและวิธีการทำจากเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะไม่ต้องเลยค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนกับโรงเรียนสอนทำเบเกอรี่ต่างๆ

3. ศึกษาตลาดและคู่แข่ง
ผู้ผลิตควรศึกษาถึงสภาวะการตลาดเพื่อการทำความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจของเรา ควรศึกษาว่ากาตลาดเบเกอรี่ในช่วงนั้นๆ เป็นอย่างไร มีกลุ่มคู่แข่งจำนวนประมาณกี่ราย และแต่ละรายมีข้อเด่นข้อด้อยอะไรบ้าง และเราต้องหาจุดแข็งของเรา และปรับกลยุทธ์เพื่อให้สู้กับคู่แข่งให้ได้ การ มองหา ร้านค้าสำหรับฝากขายมีความสำคัญมากในการที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราก้าวไปข้างหน้าหรือจะถอยหลัง ร้านที่เห็นควรให้ความสนใจคือร้านที่อยู่ในย่านชุมชน มีทำเลดี มีที่จอดรถสำหรับลูกค้าไว้พร้อม มีการเคลื่อนไหวของจำนวนลูกค้าและหมุนเวียนสินค้าตลอดทั้งวัน และทางร้านมีแนวโน้มที่จะช่วยนำเสนอสินค้าของเรา เพื่อไม่ให้สินค้าของเราถูกกักไว้เพื่อรอส่งกลับคืนอย่างเดียว

4. หาแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสมทั้งเรื่องราคาและคุณภาพ
การซื้อวัตถุดิบสำหรับเฉพาะการทำเบเกอรี่ ย่อมทำให้ได้วัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่าซื้อตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และก็ยังคงได้อุปกรณ์ในการทำเบเกอรี่อย่างครบถ้วน


10.09.2554

รูปแบบของการทำธุรกิจเบเกอรี่

ในบทความนี้เราจะพูดถึงรูปแบบของการทำธุรกิจเบเกอรี่ที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเลือกเองโดยวิเคราะห์ถึงวิธีการ ลักษณะ และความพร้อมของตัวเอง
โดยรวมแล้ว รูปแบบของเบเกอรี่โฮมเมดที่เห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมีดังนี้
1. มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง
คำว่า “หน้าร้าน” ในที่นี้ ด้วยรูปแบบของเบเกอรี่โฮมเมดแล้ว อาจไม่ได้หมาย
ความถึงร้านบเกอรี่ขนาดใหญ่ แตเป็นร้านค้าอะไรก็ได้ที่ผู้ประกอบการอาจมีอยู่แล้ว เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านยา

รูปแบบของการทำธุรกิจเช่นนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะเราสามารถขายสินค้าได้เต็มราคาไม่ต้องโดนหักส่วนแบ่งเหมือนการนำไปฝากขาย สามารถผลิตขนมได้ตามความต้องการและวางขายได้เป็นจำนวน ตามที่จะมีความสามารถผลิตได้ แต่ต้องเลือกพื้นที่ขายให้โดดเด่ดชัดเจน ไม่ขวางทางแต่ต้องสะดุดตา และการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามก็เป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ด้วย
2. การฝากขาย
การขายแบบนี้แทบไม่ต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง เพราะในรูปแบบ “ฝากขาย” ก็คือการนำสินค้าไปฝากไว้กับร้านค้าอื่นๆ เพื่อให้ขายแทนเรา โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์กันตามที่ตกลงกัน หรือที่เรียกว่าการแบ่งเปอร์เซ็นต์นั่นเอง
การฝากขายนั้น ในระยะเริ่มต้นผู้ประกอบการต้องให้ความเอาใจใส่ที่ค่อนข้างมากในการสำรวจพื้นที่หรือร้านค้าต่างๆ ที่เราเห็นว่าเหมาะสมที่จะรับฝากขายสินค้าของเรา เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายเครื่องดื่ม ร้านไอศกรีม ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารอื่นๆ ภายในสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการต่างๆ ข้อดีคือ เราไม่ต้องบริหารร้าน แต่ทำหน้าที่ผลิตอย่างเดียว
ในกรณีที่เราพบร้านเป้าหมายแล้ว การเข้าไปเจรจาพูดคัยเพื่อตกลงทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องทำทันที แต่ก่อนอื่น เราต้องมั่นใจว่าสินค้าของเรานั้นพร้อมทุกด้าน ทั้งเรื่องรสชาติ บรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า ราคา และกำลังการผลิตที่้ต้องตอบสนองความต้องการจากลูกค้าได้ทันที ส่วนเรื่องราคาส่งนั้น ต้องบวกกำไร ต้นทุนต่างๆ ให้เรียบร้อย และร้านก็จะรับไปตั้งราคาขายอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเค้าจะบวกกำไรต่างหาก แต่เราอย่าลืมเจรจาราคาที่จะขายให้กับลูกค้าจริงๆ เพื่อไม่ให้ขนมนั้นมีราคาแพงเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

3. ทำตามสั่ง
การผลิตเบเกอรีตามสั่งหรือตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าต้องการก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของธุรกิจเบเกอรี่โฮมเมดที่พบมาก ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่สินค้าของเราเป็นที่รู้จักแล้ว จึงมียอดการส่งซื้อเข้ามา ส่วนใหญ่มักผลิตส่งตามร้านกาแฟ หรืองานจัดเลี้ยง งานประชุมสัมมนาต่างๆ ข้อดีของธุรกิจฟูแบบนี้คีอ ไม่มีของเหลือ ไม่ต้องรับสินค้ากลับคืน เพราะส่วนใหญ่เป็นในลักษณะขายขาดแเละทำตามปริมาณที่สั่ง แต่ข้อเสียคือ หากสินค้าไม่ดีจริง ไม่อร่อย ไร้คุณภาพ ยอดการสั่งซื้อย่อมลดลง และอาจจะไม่มีการสั่งซื้ออีกเลย
เมื่อเราทราบแล้วว่ารูปแบบของธุรกิจการทำเบเกอรี่มีอะไรบ้าง เราก็เลือกที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อให้ผลประกอบการออกมาดีที่สุด